แบตเตอรี่รถเข็นไฟฟ้า แบบกรดตะกั่วหรือแบบลิเธียมไอออน เลือกอย่างไรดี?

รถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้านั้น เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ เป็นประเภทที่สามารถชาร์จไฟใหม่ได้ rechargeable Battery โดยหลักๆแล้วจะมีแบตเตอรี่ ที่ใช้ในรถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้านั้นมี อยู่ 2 ชนิด

1. แบตเตอรี่แบบกรดตะกั่วแบบแห้ง คือไม่ต้องเติมน้ำกลั่น Dry Lead Acid Battery แบตเตอรี่ประเภทนี้นิยมใช้งาน ในอุปกรณ์ ไฟฟ้า ต่าง ๆ ที่มีการใช้ไฟอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอเช่น รถกอล์ฟ อุปกรณ์สำรองไฟ เช่นเครื่องสำรองไฟสำหรับคอมพิวเตอร์ UPS หรือสำหรับจักรยานไฟฟ้า แบตเตอรี่ประเภทนี้หา ได้ง่ายในท้องตลาด มีราคาไม่แพงและมีอายุการใช้งานนานพอสมควรประมาณ 1 ปีครึ่งถึง 2 ปีครึ่ง ในการใช้งานรถเข็นไฟฟ้าเป็นประจำทุกวัน ข้อดีอีกอย่างนึงของแบตเตอรี่ประเภทนี้ก็คือดูแลรักษาง่าย เรียกว่าแทบจะไม่ต้องดูแลอะไรเลยนอกจากการชาร์จแบตเตอรี่ไว้ให้เต็มอยู่เสมอ ข้อแนะนำในการใช้งานของแบตเตอรี่ประเภทนี้ก็คือ ควรชาร์จไฟแบตเตอรี่ให้ เต็มอยู่เสมอไม่ควรปล่อยให้ไฟในแบตเตอรี่หมดแล้วทิ้งไว้โดยไม่ได้ใช้งานเป็นเวลานาน จะทำให้แบตเตอรี่ไม่สามารถเก็บไฟได้เนื่องจากมีสารซัลเฟตไปเกาะอยู่ที่แผ่นตะกั่ว เป็นสาเหตุที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมในที่สุด ทั้งนี้ท่านสามารถศึกษาการ การดูแลรักษารถเข็นไฟฟ้า ได้ในส่วนของบทความ แบตเตอรี่ประเภทนี้มีข้อเสียก็คือมีน้ำหนักมาก แบตเตอรี่กรดตะกั่วที่ใช้ในรถเข็นไฟฟ้า จะมีน้ำหนักอยู่ประมาณ 5 กิโลกรัมจนไปถึง 20 กิโลกรัมเลยทีเดียว อันนี้จะขึ้นอยู่กับปริมาณความจุของแบตเตอรี่ยิ่งความจุมากก็จะมีปริมาณตะกั่วมากซึ่งทำให้น้ำหนักของแบตเตอรี่ มากขึ้นตามลำดับ

2.แบตเตอรี่แบบลิเธี่ยมไอออน lithium ion แบตเตอรี่ประเภทนี้เป็นแบตเตอรี่ที่นิยมมากที่สุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะการใช้แบตเตอรี่ประเภทนี้ในรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จุดเด่นของแบตเตอรี่แบบลิเธี่ยมไอออน lithium ion ที่เหนือกว่าแบตเตอรี่ทั่วไปตระกูลนิกเกิลและกรดตะกั่ว คือมีประสิทธิภาพในการจุพลังงานไฟฟ้าและมีกำลังไฟฟ้าที่สูง อัตราการสูญเสียประจุระหว่างไม่ใช้งาน (Self-discharge rate) ต่ำ และมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ที่ใช้โลหะลิเธี่ยมเป็นขั้วไฟฟ้า นอกจากประสิทธิภาพในเรื่องของการจุพลังงานไฟฟ้าแล้ว แบตเตอรี่ประเภทนี้มีข้อดีคือจะมีขนาดเล็กและมีน้ำหนักเบากว่าแบตเตอรี่แบบกรดตะกั่วพอสมควร เรียกว่ามีขนาดเล็กกว่าและเบากว่า

Details

ประโยชน์ของรถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้า

รถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาทางด้านการเดินผู้ป่วยผู้สูงอายุหรือคนชราให้สามารถใช้ชีวิตประจำวัน ได้อย่างดีโดยที่สามารถช่วยลดภาระของผู้ดูแล เพราะผู้ใช้งานรถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้านั้น ผู้ใช้สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในระดับหนึ่งคือสามารถบังคับรถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้าไปในที่ที่ตนเองต้องการ อย่างเช่นต้องการไปที่โต๊ะอาหารหรือต้องการไปที่ระเบียงหน้าบ้าน ก็สามารถทำได้เลยไม่ต้องเรียกผู้ดูแลมาเข็นรถเข็นวีลแชร์ให้ รถเข็นไฟฟ้านั้น มีประโยชน์ และมีข้อดี ที่สามารถบังคับหมุนรอบตัวเองได้ จึงทำให้สามารถใช้ในที่แคบๆอย่างเช่นห้องนอนหรือห้องรับประทานอาหาร ได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้ป่วยหรือผู้ใช้งานสามารถบังคับตัวควบคุมหรือจอยสติ๊กได้ด้วยตัวเอง จึงทำให้มีความอิสระในการ ทำกิจวัตรประจำวัน หรือแม้กระทั่งทำกิจกรรมต่างๆ ในบ้านหรือบริเวณบ้าน นอกเหนือจากนั้นรถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้าหลายหลายรุ่น สามารถพกพา ไปใช้นอกสถานที่ได้จึงทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ใช้งาน สามารถที่จะไปเที่ยวนอกบ้านได้อย่างสะดวก เพราะการที่ออกไปทำกิจกรรมนอกบ้านนั้นจำเป็นต้องเดินเป็นระยะทางไกล ซึ่งก็จะเป็นอุปสรรคให้กับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ ทำให้ไม่สามารถ ออกไปทำกิจกรรมต่างๆนอกบ้านได้ ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ ต้องนอนติดเตียงหรือต้องอุดอู้อยู่แต่ในบ้าน ซึ่งมีผลต่อสุขภาพจิตใจ ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุนั้น มีจิตใจเศร้าหมองได้ เพราะฉะนั้นการที่ผู้ป่วยหรือ ผู้สูงอายุ สามารถออกไปทำกิจกรรมต่างๆนอกบ้านได้ จะเป็นเรื่องที่ดี ทั้งกับสุขภาพจิตใจและสุขภาพร่างกาย

รถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้านั้นเป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์มากทำให้ผู้ป่วยหรือผู้ใช้งานมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถขับขี่รถเข็นไฟฟ้าไปทำกิจกรรมต่างๆยกตัวอย่างเช่นขับไปหาเพื่อนบ้าน ไปพูดคุยกับเพื่อนบ้าน ซึ่งก็จะทำให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุนั้นไม่อุดอู้อยู่แต่ในบ้าน ทำให้ มีชีวิตชีวาและทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจ และมีผลให้ฟื้นไข้เร็วขึ้นอีกด้วย การบังคับขับขี่รถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้านั้นทำได้ไม่ยาก ตัวควบคุมหรือจอยสติ๊ก นั้น จะมีคันโยกใน การบังคับทิศทาง ซึ่งผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุก็สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและ รถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้าทุกรุ่น สามารถปรับความช้าหรือความเร็วได้ ผู้ดูแลจึงไม่ต้องกังวลว่าผู้ใช้งานจะขับขี่ด้วยความเร็วเกินไป และข้อดีของรถเข็นไฟฟ้าวีลแชร์ไฟฟ้าอีกอย่างหนึ่งก็คือความง่ายในการใช้งาน และง่ายในการดูแลรักษา

Details

วิธีเลือกรถเข็นไฟฟ้า “เอาแบบยางลมหรือยางตันดี?”

รถเข็นไฟฟ้า หรือรถวีลแชร์ไฟฟ้าในท้องตลาด นั้นมีหลายรุ่นหลายแบบ มีอ็อปชั่นให้ผู้ใช้เลือกมากมาย และอ็อปชั่น หรือคุณสมบัติอีกอย่างนึงที่ต้องคำนึงถึงอย่างมากก็คือ “ยาง” รถเข็นไฟฟ้านั้นเป็นพาหนะอย่างนึงซึ่งใช้มอเตอร์ , ล้อและยางทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนตัวรถ และล้อกับยางนั้นทำหน้าที่ในการยึดเกาะถนน และทำหน้าที่ซับแรกกระแทกที่เกิดขึ้นเวลาที่รถขับเคลื่อนไปบนท้องถนน
หลายท่านคงพอทราบแล้วว่ายางของรถเข็นไฟฟ้า หรือ รถวีลแชร์ไฟฟ้านั้นมีให้เลือก 2 แบบหลักๆ คือ

1) ยางเติมลม pneumatic tires / inflatable tires เหมือนยางที่เราคุ้นเคยกันดีในจักรยาน จะมียางนอก และยางใน มีจุ๊บโลหะที่เอาไว้สูบลมเข้าไป ข้อดีของยางประเภทนี้ คือยางประเภทนี้มีความนุ่มนวลเวลารถเข็นไฟฟ้าขับขี่ไปบนท้องถนน เนื่องจากในยางนั้นมีลมอัดอยู่จึงทำให้ตัวยางพองออก โดยลมทำให้ยางมีความยืดหยุ่นและมีคุณสมบัติซับแรงกระแทกได้ดี เวลารถเข็นไฟฟ้าขับขี่ไปบนทางที่ขรุขระก็จะช่วยซับแรงกระแทก หรือลดแรงกระแทกจากถนนไปที่ผู้นั่งได้ดี และข้อดีอีกอย่างนึงของยางประเภทนี้ก็คือหาเปลี่ยนได้ไม่ยากและราคาไม่แพง แต่ข้อเสียที่หลายๆคนไม่ชอบเลยก็คือยางประเภทนี้จะต้องคอยตรวจเช็คแรงดันลม, คอยเติมลมไม่ใช้ยางแบนเป็นระยะๆ หรือคอยดูว่ายางอยู่ในสภาพดีไม่รั่วซึม และถ้ายางมีการรั่วซึมผู้ใช้ก็ต้องนำรถไปให้ร้านยางปะหรือเปลี่ยนให้แบบที่

2) ยางตัน solid tires ยางตันส่วนใหญ่ของรถเข็นไฟฟ้า หรือวีลแชร์ไฟฟ้านั้นทำจากวัสดุ PU หรือ polyurethane เป็นวัสดุที่ทำขึ้นมาให้มีรูปทรงคล้ายยางลม แต่ข้างในนั้นไม่มีลม เป็นยางทั้งอัน หรือ ทั้งก้อน ข้อดีของยางประเภทนี้ก็คือไม่ต้องเติมลม ไม่มีการรั่วซึม เพราะฉะนั้นก็จะไม่มีอาการยางแบน ตัวยางมีความยืดหยุ่นในระดับนึงจึงทำให้ซับแรกกระแทกได้ แต่ก็ไม่มากเท่ายางแบบเติมลม ผู้ใช้ รถเข็นไฟฟ้าส่วนใหญ่ที่ไม่ได้ใช้รถเข็นไฟฟ้าวิ่งบนทางขรุขระมากนัก ก็มักจะเลือกยางตันเพราะไม่ต้องดูแลรักษามากเหมือนยางลม อายุการใช้งานก็นานกว่า แต่ข้อเสียก็คือ ยางตันซับแรงกระแทกได้น้อยกว่า และยิ่งถ้าเวลายางเริ่มเก่ายางก็จะมีความแข็งมากขึ้นด้วย ส่วนเรื่องการหาเปลี่ยนก็จะทำได้ยากกว่ายางแบบเติมลม ในการผลิตล้อแบบยางตันจะใช้เครื่องจักรเฉพาะสำหรับอัดยางที่ขึ้นรูปเป็นวงไว้แล้ว อัดลงไปในล้อโดยใช้แรงกดให้ยางเข้าไปในตำแหน่ง

Details

วิธีการนำรถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน

หลายๆท่านยังมีความสงสัยเกี่ยวกับการนำรถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน และยังไม่เข้าใจกฏเกณฑ์หรือข้อบังคับต่างๆ เกี่ยวกับการนำรถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบิน หรือวิธีจัดการกับแบตเตอรี่ว่าต้องทำอย่างไร บทความนี้จะให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อที่จะใช้ในการเตรียมตัวสำหรับผู้ใช้รถเข็นไฟฟ้าที่ต้องการนำรถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบินไปด้วยในการเดินทางเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยวหรือทำงาน

ทั้งนี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะรถเข็นไฟฟ้าหรือวีลแชร์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่แบบลิเธี่ยม ไอออน เท่านั้นเพราะรถเข็นไฟฟ้าที่ใช้พกพาส่วนใหญ่ จะเป็นรถเข็นไฟฟ้าที่มีน้ำหนักเบา และรถเข็นไฟฟ้าน้ำหนักเบาส่วนใหญ่จะใช้แบตเตอรี่แบบลิเธี่ยม ไอออน แบบถอดได้

ข้อมูลจากทางสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท. CAAT) ได้แจ้งว่า รถเข็นวีลแชร์ ทั้งแบบเข็นด้วยตัวเองและแบบใช้พลังงานโดยแบตเตอรี่สามารถนำขึ้นเครื่องบินได้ โดยตัวรถเข็นวีลแชร์นั้นต้องโหลดใต้ท้องเครื่องบิน (Check-in Baggage) แต่มีข้อแม้ว่าต้องถอดแบตเตอรี่ออกจากตัวรถก่อน จากนั้นผู้โดยสารสามารถส่งรถเข็นวีลแชร์ได้ที่เคาน์เตอร์เช็คอินของสายการบินที่เดินทางหรือสามารถใช้รถเข็นวีลแชร์ของตนเองได้จนถึงประตูขึ้นเครื่องบิน (Gate) และส่งมอบให้พนักงานของสายการบินนำไปโหลดใต้ท้องเครื่องบินต่อไป (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของสายการบิน) แต่ละสายการบินจะมีกฎระเบียบที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ผู้ใช้รถเข็นไฟฟ้าที่ต้องการนำรถเข็นไฟฟ้าขึ้นเครื่องบินมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องโทรสอบถามข้อมูลต่างๆให้ละเอียดก่อนการเดินทาง

ทางสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท. CAAT) ยังให้ข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับรถเข็นไฟฟ้า ที่ใช้แบตเตอรีลิเธียมไอออน ว่า ผู้โดยสารต้องแสดงหลักฐานว่าแบตเตอรี่ ลิเธี่ยม ไอออนนั้นได้ผ่านการทดสอบตามคู่มือการทดสอบและหลักเกณฑ์ของสหประชาชาติ (Battery Test Documents) ซึ่งท่านสามารถข้อได้จากผู้ขายรถเข็นไฟฟ้า

Details

จะเลือกใช้รถเข็นผู้ป่วยล้อเล็กหรือล้อใหญ่ดี?

ผู้ซื้อรถเข็นผู้ป่วยจำนวนมากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับรถเข็นผู้ป่วยล้อเล็กหรือล้อใหญ่ว่าอย่างไหนดีกว่ากัน แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร แล้วจะเลือกให้เหมาะกับการใช้งานอย่างไร

ล้อในที่นี้ที่จะพูดถึงก็คือล้อหลังของรถเข็นผู้ป่วยซึ่งมักจะมีให้เลือก 2 ขนาด คือขนาดเล็กและใหญ่

ก่อนอื่นต้องขอพูดถึงขนาดล้อของรถเข็นผู้ป่วยก่อนว่ามีกี่ขนาด โดยปกติแล้วรถเข็นผู้ป่วยจะมีล้อหน้าขนาดเล็กกว่าล้อหลัง ขนาดโดยส่วนมากที่พบก็คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6นิ้ว ถึง 8นิ้ว ส่วนล้อหลังก็จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12นิ้ว ถึง 24นิ้ว ส่วนใหญ่แล้วรถเข็นผู้ป่วยที่มีล้อหน้าขนาดใหญ่ก็มักจะมีล้อหลังขนาดใหญ่ตาม เนื่องจากขนาดของล้อมีผลต่อความสูงของที่นั่ง เพราะฉะนั้นขนาดของล้อหน้ากับล้อหลังจึงต้องสัมพันธ์กัน

ข้อดีของรถเข็นผู้ป่วย หรือแม้แต่ รถเข็นไฟฟ้า ที่มีล้อขนาดใหญ่ ก็คือเวลาเข็นหรือเวลาที่ผู้นั่งหมุนล้อเพื่อเข็นรถเข็นเอง จะทำได้ง่ายกว่ารถเข็นผู้ป่วย หรือรถเข็นไฟฟ้าที่มีล้อขนาดเล็ก เนื่องจากเวลาเข็นแล้วล้อจะหมุน พอล้อหมุนแล้วก็จะมีแรงส่ง ซึ่งล้อใหญ่จะมีแรงส่งมากกว่าล้อเล็ก จึงทำให้รถเข็นผู้ป่วย หรือรถเข็นไฟฟ้าที่มีล้อใหญ่เข็นได้ลื่น และใช้แรงน้อยกว่าในการเข็นหลังจากที่รถเข็นเริ่มเคลื่อนที่แล้ว

ข้อดีอีกอย่างนึงของรถเข็นผู้ป่วยที่มีล้อหลังขนาดใหญ่ก็คือ มีวงแหวนช่วยเข็นติดอยู่กับล้อ ซึ่งตัววงแหวนช่วยเข็นนั้นออกแบบมาสำหรับให้ผู้นั่งรถเข็นหมุนล้อเพื่อเข็นรถเข็นเอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความอิสระ และลดภาระให้กับผู้ดูแลได้ และนอกจากนั้นผู้ใช้บางท่านก็ใช้เพื่อการออกกำลังกายโดยหมุนล้อเพื่อเข็นรถเข็นด้วยตนเอง

Details

วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียง หรือ ติดรถวีลแชร์

วิธีดูแลผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้ป่วยที่ติดรถวีลแชร์ เป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องใช้ความรู้และความเข้าใจเป็นพิเศษ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถที่จะดูแลตัวเองได้ จำเป็นที่จะต้องมีผู้ดูแลตลอดเวลา เพราะฉะนั้นวิธีการปฏิบัติตัวในการดูแลผู้ป่วยประเภทนี้จึงจำเป็นที่จะต้องใช้ความรู้และความเข้าใจเป็นอย่างมาก เพื่อจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผลการรักษาทั้งทางร่างกาย และการรักษาสภาพจิตใจของผู้ป่วยอีกด้วย

โดยปกติแล้วปัญหาหลักๆของผู้ป่วยติดเตียง หรือติดรถวีลแชร์คือ ปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้อเป็นหลัก และสิ่งที่เราพูดถึงกันบ่อยที่สุดคือปัญหาของการเกิดแผลกดทับ แม้ว่าจะมีเตียงผู้ป่วยที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับโดยเฉพาะแต่การนอนติดเตียงเป็นระยะเวลานานๆ ก็ไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ได้100 เปอร์เซ็นต์ นอกเสียจากว่า เราจะมีวิธีการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ได้ดีกว่า

โดยปกติ แล้วปัญหาหลักของผู้ป่วยติดเตียง หรือติดรถวีลแชร์คือ การนอนในท่าเดิมนานๆ เพราะฉะนั้นวิธีการป้องกันการเกิดปัญหาที่ง่ายที่สุดคือ การเปลี่ยนท่านอนให้ผู้ป่วยทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อไม่ให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายเกิดการเสียดสีกับเตียงหรือรถวีลแชร์ หรือมีแรงกดทับเป็นเวลานานๆจนก่อให้เกิดเป็นแผลกดทับได้ แต่ถ้าพบว่า เปลี่ยนท่านอนแล้ว รอยแดงๆบนผิวหนังไม่หายไปภายใน 30 นาที ก็อาจปรับเวลาในการเปลี่ยนท่านอนในระยะเวลาสั้นขึ้น จะช่วยให้ปัญหาแผลกดทับเกิดขึ้นได้น้อยลงมากทีเดียว และควรจัดสรีระของร่างกายให้อยู่ในท่าที่สบายที่สุด เช่น การจัดท่านอนตะแคง ควรให้บริเวณสะโพก เข่า และข้อเท้า ทำมุมพอเหมาะ ไม่งอมากเกินไป และไม่ควรเหยียดตึงเกินไป และควรมีหมอนใบเล็กๆรองบริเวณกระดุกที่สัมผัสกับที่นอนโดยตรง เพื่อลดแรงกด ถ้านอนหงาย ก็ให้ใช้หมอนรองใต้น่อง เพื่อให้เท้าลอยขึ้นมาเหนือพื้น นอกจากนี้เรายังต้องจัดท่านอนให้ศีรษะสูงขึ้นเพื่อป้อนอาหาร หลังจากนั้น 30 นาที ก็ให้ปรับศีรษะลงในท่าที่สูงประมาณ 30 องศา ซึ่งเป็นท่าปกติ

Details

การพกพารถเข็นไฟฟ้าไปใช้นอกสถานที่

การเตรียมตัวที่จะนำรถเข็นไฟฟ้าแบบพกพาไปใช้นอกสถานที่ ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะในการเดินทางนั้นต้องมีความสะดวกแล้วยังต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้รถเข็น ซึ่งอาจเป็นผู้ป่วย หรือผู้สูงอายุ คนชราด้วย การศึกษาหาข้อมูลล่วงหน้าจึงเป็นสิ่งจำเป็น

เริ่มต้นตั้งแต่การเลือกรถเข็นไฟฟ้าก็ควรเลือกรถเข็นไฟฟ้าพับได้ พับได้โดยไม่มีขั้นตอนมากจนเกินไป และมีขนาดกระทัดรัดสามารถบรรทุกใส่ท้ายรถได้ มีน้ำหนักเบา รถเข็นไฟฟ้าน้ำหนักเบานั้นจำเป็นจะต้องมีแบตเตอรี่น้ำหนักเบาด้วย ซึ่งแบตเตอรี่ก็ควรใช้แบบลิเธี่ยม ไอออน ซึ่งจะมีน้ำหนักเบากว่าแบตเตอรี่ที่เป็นแบบกรด-ตะกั่วมาก น้ำหนักของรถเข็นไฟฟ้าพับได้ไม่ควรเกิน 22 กก. หรือไม่ควรเกินกำลังของผู้ดูแลที่เดินทางไปด้วย เพราะผู้ดูแลต้องยกรถเข็นไฟฟ้าขึ้นและลงจากรถ ถ้าน้ำหนักมากเกินไปอาจทำให้ผุ้ดูแลบาดเจ็บจากการยกขึ้น-ลงได้

การเตรียมตัวในเรื่องการเดินทางก็เป็นสิ่งสำคัญ เช่น ควรศึกษาสถานที่ที่จะไป โดยการสอบถามล่วงหน้า เช่นสถานที่ที่จะไปควรมีทางลาดสำหรับรถเข็นไฟฟ้า เพื่อขึ้นทางต่างระดับ หรือบันไดทางเข้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางสำหรับรถเข็นไฟฟ้า ลิฟต์สำหรับผู้ใช้รถเข็น รวมไปถึงห้องน้ำสำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุก็สำคัญ ต้องมีประตูกว้างสำหรับให้รถเข็นไฟฟ้าขับเข้า-ออกได้ ควรสอบถามเจ้าของสถานที่ล่วงหน้าก่อนการเดินทาง

การตรวจดูความเรียบร้อย หรือความพร้อมในการใช้งานของรถเข็นไฟฟ้าพับได้ที่นำไปใช้ก็สำคัญเช่นกัน ควรตรวจสอบปริมาณแบตเตอรี่ว่ามีแบตเตอรี่เพียงพอสำหรับการเดินทางรึเปล่า ควรชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มก่อนการเดินทางไกล หรือต้องใช้รถเข็นไฟฟ้าพับได้เป็นเวลานาน และเช็คสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง เช่นตัวควบคุม ว่าใช้ง่ายได้ปกติ เช็คมอเตอร์ว่าใช้งานได้ปกติไม่มีเสียงดังหรือมีอาการเอียงซ้ายหรือขวา

Details

รถเข็นไฟฟ้าราคาถูก VS รถเข็นไฟฟ้าราคาสูง

เนื่องจากในปัจจุบันรถเข็นไฟฟ้าซินเนอจี มีหลากรุ่นหลายราคา ผู้ซื้อจึงอาจจะสงสัยว่าควรจะซื้อรถเข็นไฟฟ้าในช่วงราคาเท่าไรจึงจะเหมาะสม วันนี้เราจึงมาเปรียบเที่ยบรุ่นของรถเข็นไฟฟ้าราคาถูก และรถเข็นไฟฟ้าราคาสูงว่า จะมีอะไรแตกต่างกันบ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้ท่านผู้ซื้อได้ตัดสินใจซื้อรถเข็นไฟฟ้า Synergy ได้ง่ายขึ้น

รถเข็นไฟฟ้าทั่วไปในท้องตลาดมีราคาตั้งแต่ราว 2 หมื่นบาท จนไปถึง แสนกว่าบาท แต่ ณ.ปัจจุบัน รถเข็นไฟฟ้า Synergy นั้นมีราคาสูงสุดคือรุ่น Inspire มีราคาอยู่ที่ 5-6 หมื่นกว่าบาท ซึ่งแบ่งแยกออกไปอีก 3รุ่นย่อย

ปัจจัยหลักๆที่มีผลต่อราคาของรถเข็นไฟฟ้าคือ

1. วัสดุ: วัสดุที่ใช้ทำเป็นโครงสร้างของรถเข็นไฟฟ้า Synergy นั้นมี 2 แบบหลักๆ คือ แบบคาร์บอนสตีล หรือ เหล็กคาร์บอน ก็คือโครงสร้างจะมีเหล็กเป็นส่วนผสมหลัก ซึ่งรถเข็นที่มีราคาถูกก็มักจะมีโครงสร้างแบบนี้ ข้อเสียของวัสดุเหล็กคาร์บอนก็คือจะมีน้ำหนักมาก และมีโอกาศเป็นสนิม ส่วนวัสดุอีกแบบนึงคือ อลูมิเนียม อัลลอย ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีต้นทุนการผลิตสูงกว่าแบบเหล็กคาร์บอนพอสมควร แต่คุณสมบัติของอลูมิเนียมอัลลอยก็จะมีข้อดีกว่าเหล็กคาร์บอนหลายอย่างเช่น มีน้ำหนักเบากว่ามาก มีความแข็งแรงพอๆกัน และที่สำคัญคือไม่เป็นสนิม

2. รูปแบบหรือดีไซน์เพื่อความสะดวกในการใช้งาน: รถเข็นไฟฟ้าราคาถูกมักจะมีรูปแบบหรือดีไซน์เก่า ซึ่งจะมีความสะดวกในการใช้งานน้อยกว่ารุ่นใหม่ เช่นการพับรถเข็นไฟฟ้า การพกพา รถเข็นไฟฟ้าราคาถูกมักจะมีขั้นตอนในการพับ โดยต้องถอดอุปกรณ์เช่น แบตเตอรี่ออกก่อน พับแล้วก็จะมีขนาดใหญ่ ไม่กะทัดรัดเหมือนกันรุ่นที่มีราคาสูงซึ่งออกแบบดีไซน์ให้มีขนาดเล็ก และมีขั้นตอนในการพับน้อยกว่า คือไม่ต้องถอดอุปกรณ์ใดๆ สามารถพับแล้วยกใส่ท้ายรถได้เลย

Details

ข้อควรระวังในการใช้รถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้า

หลังจากที่ท่านเลือกรถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้าได้แล้ว ควรคำนึงถึงความปลอดภัยระหว่างการใช้งาน และควรใช้งานรถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้าอย่างเหมาะสม ท่านสามารถดูข้อควรระวังหรือวิธีใช้งานอย่างถูกต้อง โดยอ่านในคู่มือของรถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้าก่อนการใช้งาน

ข้อแนะนำเบื้องต้นในการใช้รถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้าซินเนอจีมีดังนี้;

ท่านควรสวมเข็มขัดนิรภัยระหว่างการใช้งานเสมอ

ท่านควรระวังแขนหรือขาไม่ให้ยื่นออกจากตัวรถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้าระหว่างที่ท่านขับขี่ด้วยความเร็ว เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากกระแทกกับสิ่งกีดขวาง

ควรชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มก่อนใช้งานเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้รถเข็นไฟฟ้านั้นแบตหมดระหว่างทาง

ก่อนขึ้นหรือลงจากรถเข็นผู้ป่วยไฟฟ้า ควรดูให้แน่ใจว่าท่านได้ปิดเครื่องแล้ว และแนะนำให้เข้าเบรกมือทุกครั้งก่อนการขึ้นลงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากรถไหล

ระวังเด็กที่อาจเผลอมาเล่นจอยสติ๊กควบคุม ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

ในระหว่างขับขี่ออกนอกบ้านหรือสถานที่พัก ควรดูให้แน่ใจว่าทางที่ท่านวิ่งไปนั้นไม่มีอุปสรรค เช่นหลุมลึก ,ทางลาดมาก หรือแม้กระทั่งยานพาหนะที่วิ่งบนทางที่ท่านขับขี่

Details

การดูแลรักษารถเข็นไฟฟ้า

การดูแลรักษารถเข็นไฟฟ้า ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ถือว่าเป็นอีกหนึ่งมาตรฐานในการเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานโดยเฉพาะผู้ป่วยที่จำเป็นจะต้องใช้รถเข็นในการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ซึ่งโดยปกติแล้วตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญมักจะให้หลักคิดสำคัญแก่ผู้ใช้งานรถเข็นทุกคนนั่นคือ ห้ามใช้รถเข็นที่เราไม่มั่นใจในความปลอดภัยรวมถึงเราจะต้องไม่ใช้รถเข็นที่ไม่มีความสมบูรณ์ร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะการใช้งานรถเข็นที่ไม่มีความพร้อมถือว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุสูงมาก และนั่นย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทุกคน

โดยปกติแล้วรถเข็นไฟฟ้ามักจะมีข้อควรระวังมากที่สุดคือการชาร์จแบตเตอรี่อย่างถูกวิธี เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รถเข็นไฟฟ้ารุ่นใหม่ๆมีประสิทธิภาพในการเก็บแบตเตอรี่สูงสุด ซึ่งการชาร์จ 1 ครั้งจะทำให้เราสามารถใช้งานได้ไกลถึง 20 กิโลเมตร เพราะฉะนั้นเพื่อให้เราสามารถคำนวณระยะเวลาในการเดินทางและการใช้งานรถเข็นอย่างต่อเนื่องจึงควรชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มทุกครั้ง การดูแลและซ่อมบำรุงตามอายุการใช้งานของอะไหล่แต่ละชิ้น ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ ล้อยาง ระบบไฮดรอลิคที่จะทำหน้าที่ในการยกและเอน เบาะรองนั่งและพนักพิง รวมไปถึงระบบห้ามล้อหรือเบรคที่จะต้องหยุดรถเข็นได้ทันทีด้วยความนุ่มนวล นอกจากนี้ยังมีการดูแลรักษาแบบทั่วไป โดยที่ไม่เกี่ยวข้องกับระบบการขับเคลื่อนเช่นการทำความสะอาดเบาะรองนั่งและปลอกหุ้มอย่างสม่ำเสมอ ควรที่จะทำความสะอาด ทั้ง 4 ล้อ รวมไปถึงตัวรถเข็นในส่วนอื่นๆ ทุก 1-2 สัปดาห์ เพราะสิ่งสกปรกอาจจะเข้าไปอุดตัน หรือ ขัดขวางการทำงาน และก่อให้เกิดความผิดพลาดของฟันเฟือง กลไกและระบบต่างๆของรถเข็นไฟฟ้า อันจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุได้ทั้งสิ้น และควรจะมีการหยอดน้ำมันหล่อลื่นตามข้อต่อต่างๆตามคำแนะนำในคู่มือการใช้ เพื่อบำรุงรักษาให้รถเข็นไฟฟ้ามีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา

นอกจากนี้ถ้าเป็นรถเข็นไฟฟ้าที่ใช้ล้อแบบเติมลม เพื่อลดแรงกระแทกได้อย่างยอดเยี่ยมจำเป็นที่จะต้องมีการตรวจสภาพของลมยางอย่างต่อเนื่องก่อนใช้งานทุกครั้ง อย่าปล่อยให้ยางแบนเพราะจะทำให้รถเข็นเสียการทรงตัวได้ง่าย หากเป็นยางรถเข็นแบบตัน ก็ควรที่จะตรวจสอบยางให้สะอาด อยู่ในสภาพพร้อมใช้ และถ้าพบเห็นความผิดปกติของล้อทั้ง 4 ล้อไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตามไม่ควรที่จะเอารถเข็นออกไปใช้งาน แต่ควรที่จะซ่อมแซมให้รถมีสภาพความพร้อม 100% เสียก่อนจึงจะเอาออกไปใช้งานได้

Details